วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กำเนิดโลก


โลก ดวงอาทิตย์ และระบบสุริยะกำเนิดขึ้นมาพร้อมกัน เมื่อราว 4,600 ล้านปีก่อน จากกลุ่มก๊าซ หรือเนบิวลา กลุ่มหนึ่ง บริเวณขอบนอกด้านขวาของทางช้างเผือก เนบิวลา นี้ เป็นกลุ่มก๊าซและมวลสาร ที่สาดออกมาจาก ซุปเปอร์โนวา ของดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ ในอดีตก่อนหน้า เนบิวลา นี้มีรูปร่างคล้ายจานแบน หมุนรอบตัวเองตลอดเวลา ทำให้กลุ่มก๊าซค่อยๆหดตัวลง ในขณะที่ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มก๊าซที่อยู่ด้านในจะเริ่มรวมตัวเป็นดวงอาทิตย์ กลุ่มก๊าซที่อยู่ด้านนอกจะค่อยๆแยกตัวออกมาเป็นวงแหวนหลายวงแหวน และในแต่ละวงแหวน จะเกิดการรวมกลุ่มกัน กำเนิด เป็นดาวบริวาร หรือดาวเคราะห์ ทั้ง 8 ดวง รวมทั้ง โลกของเรา และดวงจันทร์ของดาวเคราะห์แต่ละดวงด้วย ส่วนที่เหลือ กลายเป็นดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกาบาต และเทหวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ

เนื่องจาก เนบิวลา ที่เป็นแหล่ง กำเนิด โลก ดวงอาทิตย์ และระบบสุริยะ มาจาก ซุปเปอร์โนวา (supernova) ของดาวฤกษ์ ดวงใดดวงหนึ่ง ดังกล่าว เนบิวลา นี้จึงประกอบไปด้วย ไฮโดรเจน ฮีเลี่ยม และธาตุที่หนักกว่า เช่น คาร์บอน ออกซิเจน ไปจนถึงเหล็ก เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย โลก ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร รวมทั้งดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ดังกล่าว และดาวเคราะห์น้อย จึงประกอบด้วยธาตุหนัก ส่วนก๊าซที่เป็นส่วนใหญ่คือ ไฮโดรเจน ฮีเลี่ยม ได้รวมตัวเป็นดวงอาทิตย์ ส่วนน้อยที่เหลือ เป็นองค์ประกอบหลักของ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

จากองค์ประกอบของโลกในช่วงกำเนิดใหม่ๆที่ประกอบไปด้วย ไฮโดรเจน ฮีเลี่ยม คาร์บอน และธาตุที่หนักกว่า จึงมีลักษณะเป็นก้อนกลมของของเหลวที่หลอมละลาย หมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ตลอดเวลา ธาตุหนัก เช่นเหล็ก จะจมลงไปอยู่แกนกลางของโลก

ช่วงแรกที กำเนิดดวงอาทิตย์ และระบบสุริยะ ซึ่ง โลก ได้กำเนิดขึ้นมาพร้อมๆกัน โลกในยุค กำเนิดใหม่ นั้นยังเป็นกลุ่มของเหลวร้อน ยุคนั้น อุกาบาตขนาดใหญ่ ที่มีอยู่มากมาย ได้พุ่งชนโลก หลายๆต่อหลายครั้ง จึงเกิดการหลอมรวมกันเป็นโลกใบใหญ่ขึ้น

เมื่อเวลาผ่านไป เปลือกนอกของโลก จะค่อยๆเย็นตัวลง กลายเป็นชั้นหิน ส่วนด้านในของโลกซึ่งเป็นส่วนมาก จะยังคงเป็นธาตุหลอมเหลว ช่วงแรกของโลกจึงปกคลุมไปด้วยภูเขาไฟ ลาวา ทะเลเพลิง ทะเลเมฆ ทะเลหมอก

เมฆที่ปกคลุมโลก ประกอบด้วยก๊าซของธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นโลก เช่น โฮโดรเจน ออกซิเจน ฮีเลี่ยม เมื่อมีอุณหภูมิ และความดันที่เหมาะสม จึงเกิดการจับตัวทางเคมีกลายเป็นสารประกอบต่างๆ ขึ้นมามากมาย สารประกอบที่สำคัญคือ น้ำ ซึ่งเกิดจาการจับตัวของ ไฮโดรเจน กับออกซิเจน น้ำ เป็นสารประกอบที่อยู่ไ้ด้ทั้งสามสถานะ คือ ไอน้ำ น้ำแข็ง และ น้ำที่เป็นของเหลว และเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกมีขนาดพอเหมาะ ไอน้ำที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ จึงถูกโลก ดึงดูดไว้ ไม่ลอยหายไปในอวกาศ เมื่อบรรยากาศโลก เย็นตัวลง จึงกลั่นตัวกลายเป็นฝนตกลงมายังพื้นโลก ในขณะที่ผิวโลกยังร้อน น้ำฝนที่ตกลงมานั้นจึงระเหยกลายเป็นไออย่างรวดเร็วแล้วเป็นฝนตกลงมาอีก เป็นโลกที่ต้องเผชิญกับ ห่าฝน ที่ตกลงมานับล้านๆห่า กินเวลายาวนานนับล้านปี อุณหภูมิผิวโลกจึงค่อยๆเย็นลง ฝนที่ตกลงมาในช่วงนี้ ค่อยๆสะสม เกิดเป็นทะเลขึ้นมา

พื้นผิวของโลก ก็ยังไม่ใช่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน มีการเกิดภูเขา ทำให้แผ่นดินสูงขึ้นมา แผ่นดินไหว ทำให้แผ่นดินพัง หรือยุบตัวหายไป อยู่ตลอดเวลา ฝนที่ตกลงมา จะละลายรวมเอาก๊าซบางอย่างเช่น มีเทน แอมโมเนีย หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มาด้วย ทำให้มีสภาพเป็นกรด กัดกร่อนพื้นผิวโลก กลายเป็นหิน และดินต่างๆ กลายเป็นแผ่นดิน และทวีปขึ้นมา

สภาพของโลกในอดีต ในน้ำทะเล ประกอบด้วยธาตุ ก๊าซ หรือสารประกอบต่างๆ มากมาย อันเนื่องมาจากภูเขาไฟระเบิด พ่นเอาลาวา และก๊าซต่างๆ ออกมา ก๊าซ หรือสารประกอบต่างๆ จึงรวมตัวกันอยู่ ในน้ำ และ ในชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้า โลกยุคนั้นยังต้องเผชิญกับ ฟ้าผ่า ความร้อนจากใต้พื้นโลก ปฏิกิริยาทางเคมี ของก๊าซ หรือสารละลายของ มีเทน แอมโมเนีย และไฮโดรเจน ทำให้เกิดกรดอะมิโน ซึ่งเป็นสารพื้นฐานของ ดีเอ็นเอ ขึ้นมาโดยบังเอิญ และเมื่อเกิดสภาพการเหมาะสมอย่างพอดิบพอดี จึงเกิดเซลล์ง่ายๆ ลักษณะคล้ายเซล์ของแบคทีเรียในปัจจุบันขึ้นมา สามารถสืบพันธุ์ได้ จึงเป็นการ กำเนิดสิ่งมีชีวิต ขึ้นมาบนโลก



แหล่งที่มา http://www.origins-earth-life.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น